หน่วยที่ 8 เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไซเบอร์สเปซ (Cyberspace) อินเทอร์เน็ต ทำให้การเคลื่อนย้ายและส่งผ่านข่าวสาร ข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งกระทำได้โดยง่ายโดยไม่จำกัดเรื่องระยะทางและเวลา สามารถส่งข้อมูลได้หลากหลายรูป แบบเช่น ส่งเป็นแบบข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงโดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อ เครือข่ายการเชื่อมโยงเครือข่ายจะใช้เครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคม เช่น สายสัญญาณโทรศัพท์ ใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) สัญญาณไมโครเวฟ และสัญญาณจากดาวเทียม เป็นต้น ทำให้การส่งผ่านข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่ หนึ่งเป็นไปด้วยความรวดเร็วอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลกและเป็นที่รวมทั้งบริการ และเครื่องมือสืบค้นข้อมูลหลายประเภทจึงกล่าวได้ว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญ อย่างหนึ่งในการประยุกต์ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร
อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล์ เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
อินเทอร์เน็ตไม่มีใครเป็นเจ้าของหรือควบคุมดูแลอย่างแท้จริง เครือข่ายแต่ละส่วนในอินเทอร์เน็ตต่างบริหารเครือข่ายของตนเอง อย่างเป็นอิสระ โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายติดตั้งระบบและการเช่าวงจรสื่อสารเพื่อต่อเชื่อมเข้าด้วยกัน แต่ในทางปฏิบัติแล้ว อินเทอร์เน็ตมีองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างสมาชิกองค์การนี้ได้แก่ สมาคมอินเทอร์เน็ต ISOC (Internet Society)ISOC เป็นองค์กรเพื่อความร่วมมือและประสานงานของสมาชิกอินเทอร์เน็ต ระหว่างประเทศ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร และมีนโยบายสนับสนุนการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างหนึ่งสำหรับการศึกษาและงานวิจัย และทำหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไป ISOC ยังทำหน้าที่ในการพัฒนามาตรฐานและเทคโนโลยี เพื่อใช้ในอินเทอร์เน็ต ภายใน ISOC มีคณะทำงานอาสาสมัคร ร่วมวางแนวทางพัฒนาอินเทอร์เน็ต ให้สมาชิกถือปฏิบัติ แต่ไม่มีหน้าที่ดูแลหรือควบคุมการบริหารเครือข่ายแต่อย่างใด
อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
ต้นกำเนิดของอินเตอร์เน็ต
- จุดกำเนิดของอินเตอร์เน็ตเริ่มในทศวรรษที่ 1960 ในสมัยนั้นมีการใช้คอมพิวเตอร์เมนเฟรม (mainframe) อย่างแพร่หลาย ส่วนคอมพิวเตอร์แบบพีซียังไม่มี ความคิดที่พยายามทำให้คอมพิวเตอร์เมนเฟรมทั้งหลายสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ทั้งระยะใกล้และระยะไกลนั้นเป็นเรื่องใหม่ในยุคนั้น และเนื่องจากยุคนั้นเป็นยุคของสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตด้วย ทางกระทรวงกลาโหมสหรัฐจึงเห็นว่าการติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างคอมพิวเตอร์ถือได้ว่ามีประโยชน์ด้านทหาร
- เพื่อให้ความคิดนี้เป็นจริง ดังนั้นในปี ค.ศ 1968 หน่วยงานที่ชื่ออาร์พา (Advance Research Project Agency , ARPA ) ของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (U.S Department of Defense, DOD) จึงมีโครงการที่จะทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในสถานที่ต่าง ๆเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้และแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ ในช่วงแรกทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จากสี่สถานที่ด้วยกันคือ
สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด (SRI International)
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส (University of California, Los Angeles(UCLA))
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา(University of California, Santa Barbara(UCSB))
มหาวิทยาลัยยูทาห์ (University of Utah)
องค์ประกอบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
องค์ประกอบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายถึง ส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้การสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายระดับโลก เป็นเครือข่ายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับ คอมพิวเตอร์จำนวนมาก จึงมีรูปแบบการเชื่อมโยงข้อมูลเฉพาะของตนเอง องค์ประกอบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มี 5 ส่วนดังนี้
1.ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ กล้องดิจิทัล และลำโพงเป็นต้น คอมพิวเตอร์จะต้องมีคุณสมบัติพร้อมสำหรับการเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ1.1 คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) หรือ โฮสต์ (Host) ได้แก่ คอมพิวเตอร์ศูนย์กลางทำหน้าที่ให้บริการข้อมูล และประมวลผลข้อมูลที่รับมาจากคอมพิวเตอร์อื่น ๆ โดยทั่วไปต้องเป็นเครื่องคุณภาพสูง เพื่อรองรับการถ่ายโอนข้อมูล จำนวนมาก
1.ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ กล้องดิจิทัล และลำโพงเป็นต้น คอมพิวเตอร์จะต้องมีคุณสมบัติพร้อมสำหรับการเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ1.1 คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) หรือ โฮสต์ (Host) ได้แก่ คอมพิวเตอร์ศูนย์กลางทำหน้าที่ให้บริการข้อมูล และประมวลผลข้อมูลที่รับมาจากคอมพิวเตอร์อื่น ๆ โดยทั่วไปต้องเป็นเครื่องคุณภาพสูง เพื่อรองรับการถ่ายโอนข้อมูล จำนวนมาก
1.2 คอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client) ได้แก่ คอมพิวเตอร์ทั่วไปที่รับ-ส่งข้อมูลมากจากเครื่องแม่ข่าย อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ เครื่องโน๊ตบุ๊ค เครื่องแลปท็อป ฯลฯ ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วไป ก็จัดเป็นเครื่องลูกข่ายทั้งสิ้น
2. ตัวกลางและอุปกรณ์การสื่อสาร (Communication Device) หมายถึงอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระหว่าง คอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือส่วนกลางกับคอมพิวเตอร์ลูกข่าย เป็นช่องทางสำหรับการรับ-ส่งข้อมูล ประกอบด้วย2.1 โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนรูปแบบสัญญาณข้อมูลระหว่างอะนาล็อกและดิจิทัล ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลของโมเด็มมีหน่วยเป็นบิตต่อนาที (bps) โมเด็มที่มีอัตราความเร็วบิตต่อนาทีสูง เช่น 512 mbps จะรับ-ส่งข้อมูลได้ดีกว่าโมเด็มขนาด 128 mbps
2.2 สายโทรศัพท์ (Telephone) หมายถึง ระบบโทรศัพท์ทั่วไปซึ่งสามารถนำเอาสายสัญญาณเสียบเข้ากับช่องสำหรับเสียบสายเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์
2.3 สายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber) เป็นสายสัญญาณอีกชนิดหนึ่งที่ทำจากเส้นใยพิเศษที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ดีกว่าสายโทรศัพท์ทั่วไป
2.4 คลื่นวิทยุและดาวเทียม (Microwave and Satellite) เป็นระบบการสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุและคลื่นไมโครเวฟรับ-ส่งสัญญาณแบบไร้สายจากดาวเทียม
3. มาตรฐานการควบคุมและการส่งผ่านข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Control/Internet Protocal) หมายถึง มาตรฐานที่ใช้ควบคุมและกำหนดเงื่อนไขในการรับ-ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่
3.1 มาตรฐานทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocal/Internet Protocal)เป็นโพรโตคอลมาตรฐานสำหรับรับ-ส่งข้อมูลของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3.2 มาตรฐานเฮชทีทีพี (HTTP : Hypertext transfer protocol) เป็นมาตรฐานสำหรับการสืบค้นข้อมูลชนิดไฮเปอร์เท็กซ์ (HTML) กำหนดและควบคุมวิธีการสื่อสาร ผ่านโปรแกรมสำหรับติดต่ออินเทอร์เน็ต หรือเบราว์เซอร์ (Browser) กับเครื่องแม่ข่ายหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server)
3.2 มาตรฐานเอฟทีพี (FTP : File Transfer Protocal ) เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการควบคุมและกำหนดวิธีการ โอนย้ายแฟ้มข้อมูล
4. โปรแกรมสำหรับติดต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Browser Program) ได้แก่โปรแกรมที่ใช้อ่านข้อมูลไฮเปอร์เท็กซ์ตามมาตรฐานเฮชทีเอ็มแอล (HTML) หรือเรียกว่าเบราว์เซอร์ เช่น Internet Explorer , Mozilla Firfox , Netscape Navigator และOperaเป็นต้น เบราว์เซอร์ทำหน้าที่อ่านข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เสมือนอ่านหนังสือทีละหน้า สามารถแสดงผลได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง และอื่น ๆ
5. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือไอเอสพี (ISP : Internet Service Provider) หมายถึงหน่วยงาน หรือ องค์กร ผู้ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลทั่วไป โดยผู้ให้บริการแต่ละรายจะเป็นสมาชิกของเครือข่าย ระดับประเทศนั้น ๆ แล้วเชื่อมโยงไปยังประเทศต่าง ๆ สำหรับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายสำคัญหรือรายใหญ่ที่สุด ของไทย คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือ กสท.
3.1 มาตรฐานทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocal/Internet Protocal)เป็นโพรโตคอลมาตรฐานสำหรับรับ-ส่งข้อมูลของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3.2 มาตรฐานเฮชทีทีพี (HTTP : Hypertext transfer protocol) เป็นมาตรฐานสำหรับการสืบค้นข้อมูลชนิดไฮเปอร์เท็กซ์ (HTML) กำหนดและควบคุมวิธีการสื่อสาร ผ่านโปรแกรมสำหรับติดต่ออินเทอร์เน็ต หรือเบราว์เซอร์ (Browser) กับเครื่องแม่ข่ายหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server)
3.2 มาตรฐานเอฟทีพี (FTP : File Transfer Protocal ) เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการควบคุมและกำหนดวิธีการ โอนย้ายแฟ้มข้อมูล
4. โปรแกรมสำหรับติดต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Browser Program) ได้แก่โปรแกรมที่ใช้อ่านข้อมูลไฮเปอร์เท็กซ์ตามมาตรฐานเฮชทีเอ็มแอล (HTML) หรือเรียกว่าเบราว์เซอร์ เช่น Internet Explorer , Mozilla Firfox , Netscape Navigator และOperaเป็นต้น เบราว์เซอร์ทำหน้าที่อ่านข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เสมือนอ่านหนังสือทีละหน้า สามารถแสดงผลได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง และอื่น ๆ
5. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือไอเอสพี (ISP : Internet Service Provider) หมายถึงหน่วยงาน หรือ องค์กร ผู้ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลทั่วไป โดยผู้ให้บริการแต่ละรายจะเป็นสมาชิกของเครือข่าย ระดับประเทศนั้น ๆ แล้วเชื่อมโยงไปยังประเทศต่าง ๆ สำหรับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายสำคัญหรือรายใหญ่ที่สุด ของไทย คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือ กสท.
การติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต
การติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตมีหลายแบบดังนี้
1. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล (E-mail หรือ Electronic mail) บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยการพิมพ์จดหมายในคอมพิวเตอร์ แล้วส่งผ่านสายโทรศัพท์ หรือสายแลน ในองค์กรไปให้ผู้รับโดยไม่ใช้แสตมป์ และส่วนใหญ่จะถึงผู้รับในเกือบทันที สามารถส่งภาพ หรือเสียง แม้แต่แฟ้มวีดิโอได้
2. เว็บไซต์ (Web site) และบริการสืบค้น (Search engine) นายเบอร์เนอร์ ลี แห่งองค์กรเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรปหรือ เซิร์น ได้พัฒนาโพรโทคอล ชื่อ เอชทีทีพี (HTTP)
ขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2533 ทำให้เกิดบริการเวิลด์ ไวด์ เว็บ(WWW : World Wide Web)ที่สามารถเปิดดูข้อมูลได้ทั้งภาพและเสียง จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดเว็บไซต์อย่างทุกวันนี้เมื่อต้องการข้อมูลก็เข้าไปยัง
เว็บไซต์เพื่อหาข้อมูลได้ จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นเพราะสะดวกและเร็ว ปัจจุบันเว็บไซต์สำหรับให้บริการ สืบค้นที่นิยมใช้มากที่สุดคือ www.google.co.th ซึ่งเป็นบริการที่ทำให้ทราบว่าเว็บใดมีข้อมูลตามคำสำคัญ (Keyword)ที่ระบุ โดยค้นหาได้ทั้งข้อมูลประเภทเว็บไซต์ ภาพ และแฟ้มข้อมูลเว็บไซต์ (Web site)หมายถึง แหล่งรวมเว็บเพจทั้งหมด
โฮมเพจ (Home page) หมายถึง เว็บเพจหน้าแรก โดยปกติจะหมายถึงแฟ้มindex.htmlเว็บเพจ (Webpage) หมายถึง หน้าเอกสารข้อมูลแต่ละหน้า ที่อยู่ในเว็บไซต์ เช่น กระดานข่าว ข้อมูลหลักสูตร หรือข้อมูลบุคลากร เป็นต้น
1. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล (E-mail หรือ Electronic mail) บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยการพิมพ์จดหมายในคอมพิวเตอร์ แล้วส่งผ่านสายโทรศัพท์ หรือสายแลน ในองค์กรไปให้ผู้รับโดยไม่ใช้แสตมป์ และส่วนใหญ่จะถึงผู้รับในเกือบทันที สามารถส่งภาพ หรือเสียง แม้แต่แฟ้มวีดิโอได้
2. เว็บไซต์ (Web site) และบริการสืบค้น (Search engine) นายเบอร์เนอร์ ลี แห่งองค์กรเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรปหรือ เซิร์น ได้พัฒนาโพรโทคอล ชื่อ เอชทีทีพี (HTTP)
ขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2533 ทำให้เกิดบริการเวิลด์ ไวด์ เว็บ(WWW : World Wide Web)ที่สามารถเปิดดูข้อมูลได้ทั้งภาพและเสียง จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดเว็บไซต์อย่างทุกวันนี้เมื่อต้องการข้อมูลก็เข้าไปยัง
เว็บไซต์เพื่อหาข้อมูลได้ จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นเพราะสะดวกและเร็ว ปัจจุบันเว็บไซต์สำหรับให้บริการ สืบค้นที่นิยมใช้มากที่สุดคือ www.google.co.th ซึ่งเป็นบริการที่ทำให้ทราบว่าเว็บใดมีข้อมูลตามคำสำคัญ (Keyword)ที่ระบุ โดยค้นหาได้ทั้งข้อมูลประเภทเว็บไซต์ ภาพ และแฟ้มข้อมูลเว็บไซต์ (Web site)หมายถึง แหล่งรวมเว็บเพจทั้งหมด
โฮมเพจ (Home page) หมายถึง เว็บเพจหน้าแรก โดยปกติจะหมายถึงแฟ้มindex.htmlเว็บเพจ (Webpage) หมายถึง หน้าเอกสารข้อมูลแต่ละหน้า ที่อยู่ในเว็บไซต์ เช่น กระดานข่าว ข้อมูลหลักสูตร หรือข้อมูลบุคลากร เป็นต้น
3. ไออาร์ซี (IRC – Internet relay caht) เป็นบริการที่ทำให้คนทั่วโลกสามารถคุยผ่านคอมพิวเตอร์พร้อมกันได้หลายคน หรือคุยกันเพียง 2 คนก็ได้ โดยเลือกห้องสนทนา
4. วินโดว์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ (Windows Live Messenger) ผู้ใช้มักเรียกสั้นๆว่า เอ็มเอสเอ็น หรือ เอ็ม ตามชื่อเดิม วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ โปรแกรมเอ็มเอสเอ็นมีฟังก์ชันหลายอย่าง เช่น Sharing folders ใช้สำหรับแบ่งปันข้อมูลหรือไฟล์ที่ต้องการให้กับบุคคลที่ต้องการโดยการสร้างโฟลเดอร์ขึ้นมา
5. พาณิชย์อิเล็กทรกนิกส์ (e-Commerce) เป็นการใช้ประโยชน์จากอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายและครอบคลุมรูปแบบทางการเงินในปัจจุบัน เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การค้าอิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และการประชุมทางไกล เป็นต้น
6. การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-learning หรือ Electronic learning) บริการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนหนังสือโดยไม่จำเป็นต้องไปนั่งในชั้นเรียนแต่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อ จะเรียนที่ไหน (Anywhere) เมื่อใด (Anytime) ก็ได้ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นขั้นตอนตามบทเรียนรู้ หากสงสัยก็สามารถติดต่อสอบถามจนเข้าใจและมีการสอบวัดผลเพื่อประเมินผลการเรียนรู้
7. ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (E-banking หรือ Electronic Banking) เป็นการทำธุรกรรมทางการเงินของธนาคาร หรือหน่วยงานอื่น ๆ โดยใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยมากขึ้น นอกจากการไปติดต่อด้วยตนเองที่ธนาคารหรือ การทำรายการจากตู้เอทีเอ็ม ทุกวันนี้ลูกค้าสามารถใช้โทรศัพท์มือถือสำหรับติดต่อเพื่อชำระค่าสินค้า และบริการ ธนาคาร หลายแห่งให้บริการโอนเงินระหว่างบัญชีผ่านอินเทอร์เน็ต บริการตรวจสอบยอดบัญชีเงินฝาก หน่วยงานนาชกาบางแห่ง เช่น กรมสรรพากรเปิดให้มีการยื่นแบบฟอร์มชำระภาษีเงินได้ ภ.ง.ด. 91 ทางอินเทอร์เน็ตซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนอย่างมาก
8. โทรศัพท์อินเทอร์เน็ต (Internet Phone) เป็นการสื่อสารทางเสียงผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต โดยแปลงสัญญาณเสียงให้เป็นแพ็กเกตข้อมูลเพื่อส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเหมือนข้อมูลอื่น คุณภาพเสียงมีความชัดเจนเหมือน
โทรศัพท์บ้านปกติ เป็นบริการที่มีราคาถูก โดยเฉพาะการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศเพราะไม่ต้องชำระค่าบริการเป็นรายนาที หรือรายชั่วโมง หากแต่เป็นการใช้โปรแกรมโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น Skype หรือ Net2Phone เป็นตัวกลางในการสื่อสาร จึงชำระเฉพาะค่าบริการอินเทอร์เน็ตเท่านั้น
9. เกมส์ออนไลน์ (Game Online) ปัจจุบันเกมส์คอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนามาก ไม่จำเป็นต้องไปซื้อโปรแกรมเกมส์จากร้าน มาติดตั้งในเครื่องอีกต่อไป เพราะสามารถเลือกเล่นเกมส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ทันที ซึ่งก็มีเว็บไซต์ที่ให้บริการจำนวนมาก
10. ปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้ทันสมัย (Software Updating) ปัจจุบันเมื่อซื้อโปรแกรมมาใช้งาน ผู้ใช้สามารถปรับปรุง
หรืออัพเดท (update) ซอฟต์แวร์โปรแกรมผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ เพราะโปรแกรมต่าง ๆ มักมีการปรับปรุงเสมอ
11. บริการกระดานข่าว (Usenet news) เป็นบริการที่มีมาตั้งแต่ยุคแรกของอินเทอร์เน็ต และยังมีการให้บริการอยู่จนปัจจุบัน
แต่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่ทราบ เพราะการใช้งานกระดานข่าวในเว็บไซต์สะดวกกว่า สำหรับกระดานข่าวที่ได้รับความนิยมของไทยคือ www. soc.culture.thai ถ้าต้องการคำตอบที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทย เมื่อส่งคำถามไปที่ www.news:soc.culture.thai
อาจจะมีคนตอบและตรงตามความต้องการ ปัจจุบันโปรแกรมที่นิยมนำมาใช้อ่านusenet news คือ Outlook expressถ้าใช้ เบราว์เซอร์ไออี (IE : Internet explorer) เมื่อพิมพ์ new:soc.coulture.thai จะเป็นการเปิดโปรแกรม Outlookและ download หัวข้อข่าวจากเครื่องบริการข่าว
12. เอฟทีพี (FTP – File Transfer Protocol) เอฟทีพี คือ การรับ-ส่งแฟ้มไปยังเครื่องให้บริการ โปรแกรมเอฟทีพี
ที่นิยมใช้คือ WS_FTP และ CUTE_FTP ที่ทำให้การส่งแฟ้มหลายแฟ้มไปยังเครื่องบริการได้สะดวกต่างกับการ Upload
หรือ Download แฟ้มที่จำกัดจำนวนแฟ้มในการส่งต่อครั้ง
13. เทลเน็ต (Telnet) หรือเอสเอสเอช เทลเน็ต (Ssh Telnet) เป็นโปรแกรมที่ใช้ติดต่อเข้าไปทำงานในเครื่องบริการ ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ หรือลีนุกซ์ ปัจจุบันการใช้โปรแกรมนี้เริ่มลดลง เพราะมีจุดด้วยเรื่องความปลอดภัย วิธีแก้แก้ไขคือ ใช้โปรแกรม Ssh (Secure Shell) ซึ่งเข้ารหัสข้อมูลก่อนส่ง ทำให้ผู้ลักลอบไม่สามารถเห็นข้อมูลที่แท้จริง
4. วินโดว์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ (Windows Live Messenger) ผู้ใช้มักเรียกสั้นๆว่า เอ็มเอสเอ็น หรือ เอ็ม ตามชื่อเดิม วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์ โปรแกรมเอ็มเอสเอ็นมีฟังก์ชันหลายอย่าง เช่น Sharing folders ใช้สำหรับแบ่งปันข้อมูลหรือไฟล์ที่ต้องการให้กับบุคคลที่ต้องการโดยการสร้างโฟลเดอร์ขึ้นมา
5. พาณิชย์อิเล็กทรกนิกส์ (e-Commerce) เป็นการใช้ประโยชน์จากอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายและครอบคลุมรูปแบบทางการเงินในปัจจุบัน เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การค้าอิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และการประชุมทางไกล เป็นต้น
6. การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-learning หรือ Electronic learning) บริการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนหนังสือโดยไม่จำเป็นต้องไปนั่งในชั้นเรียนแต่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อ จะเรียนที่ไหน (Anywhere) เมื่อใด (Anytime) ก็ได้ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นขั้นตอนตามบทเรียนรู้ หากสงสัยก็สามารถติดต่อสอบถามจนเข้าใจและมีการสอบวัดผลเพื่อประเมินผลการเรียนรู้
7. ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (E-banking หรือ Electronic Banking) เป็นการทำธุรกรรมทางการเงินของธนาคาร หรือหน่วยงานอื่น ๆ โดยใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยมากขึ้น นอกจากการไปติดต่อด้วยตนเองที่ธนาคารหรือ การทำรายการจากตู้เอทีเอ็ม ทุกวันนี้ลูกค้าสามารถใช้โทรศัพท์มือถือสำหรับติดต่อเพื่อชำระค่าสินค้า และบริการ ธนาคาร หลายแห่งให้บริการโอนเงินระหว่างบัญชีผ่านอินเทอร์เน็ต บริการตรวจสอบยอดบัญชีเงินฝาก หน่วยงานนาชกาบางแห่ง เช่น กรมสรรพากรเปิดให้มีการยื่นแบบฟอร์มชำระภาษีเงินได้ ภ.ง.ด. 91 ทางอินเทอร์เน็ตซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนอย่างมาก
8. โทรศัพท์อินเทอร์เน็ต (Internet Phone) เป็นการสื่อสารทางเสียงผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต โดยแปลงสัญญาณเสียงให้เป็นแพ็กเกตข้อมูลเพื่อส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเหมือนข้อมูลอื่น คุณภาพเสียงมีความชัดเจนเหมือน
โทรศัพท์บ้านปกติ เป็นบริการที่มีราคาถูก โดยเฉพาะการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศเพราะไม่ต้องชำระค่าบริการเป็นรายนาที หรือรายชั่วโมง หากแต่เป็นการใช้โปรแกรมโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น Skype หรือ Net2Phone เป็นตัวกลางในการสื่อสาร จึงชำระเฉพาะค่าบริการอินเทอร์เน็ตเท่านั้น
9. เกมส์ออนไลน์ (Game Online) ปัจจุบันเกมส์คอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนามาก ไม่จำเป็นต้องไปซื้อโปรแกรมเกมส์จากร้าน มาติดตั้งในเครื่องอีกต่อไป เพราะสามารถเลือกเล่นเกมส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ทันที ซึ่งก็มีเว็บไซต์ที่ให้บริการจำนวนมาก
10. ปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้ทันสมัย (Software Updating) ปัจจุบันเมื่อซื้อโปรแกรมมาใช้งาน ผู้ใช้สามารถปรับปรุง
หรืออัพเดท (update) ซอฟต์แวร์โปรแกรมผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ เพราะโปรแกรมต่าง ๆ มักมีการปรับปรุงเสมอ
11. บริการกระดานข่าว (Usenet news) เป็นบริการที่มีมาตั้งแต่ยุคแรกของอินเทอร์เน็ต และยังมีการให้บริการอยู่จนปัจจุบัน
แต่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่ทราบ เพราะการใช้งานกระดานข่าวในเว็บไซต์สะดวกกว่า สำหรับกระดานข่าวที่ได้รับความนิยมของไทยคือ www. soc.culture.thai ถ้าต้องการคำตอบที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทย เมื่อส่งคำถามไปที่ www.news:soc.culture.thai
อาจจะมีคนตอบและตรงตามความต้องการ ปัจจุบันโปรแกรมที่นิยมนำมาใช้อ่านusenet news คือ Outlook expressถ้าใช้ เบราว์เซอร์ไออี (IE : Internet explorer) เมื่อพิมพ์ new:soc.coulture.thai จะเป็นการเปิดโปรแกรม Outlookและ download หัวข้อข่าวจากเครื่องบริการข่าว
12. เอฟทีพี (FTP – File Transfer Protocol) เอฟทีพี คือ การรับ-ส่งแฟ้มไปยังเครื่องให้บริการ โปรแกรมเอฟทีพี
ที่นิยมใช้คือ WS_FTP และ CUTE_FTP ที่ทำให้การส่งแฟ้มหลายแฟ้มไปยังเครื่องบริการได้สะดวกต่างกับการ Upload
หรือ Download แฟ้มที่จำกัดจำนวนแฟ้มในการส่งต่อครั้ง
13. เทลเน็ต (Telnet) หรือเอสเอสเอช เทลเน็ต (Ssh Telnet) เป็นโปรแกรมที่ใช้ติดต่อเข้าไปทำงานในเครื่องบริการ ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ หรือลีนุกซ์ ปัจจุบันการใช้โปรแกรมนี้เริ่มลดลง เพราะมีจุดด้วยเรื่องความปลอดภัย วิธีแก้แก้ไขคือ ใช้โปรแกรม Ssh (Secure Shell) ซึ่งเข้ารหัสข้อมูลก่อนส่ง ทำให้ผู้ลักลอบไม่สามารถเห็นข้อมูลที่แท้จริง
14. สังคมเครือข่าย (Social Network) คือ การที่ผู้คนสามารถทำความรู้จักและเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง สำหรับเว็บไซต์ที่จัดเป็นเว็บสังคมเครือข่ายหมายถึง เว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกัน ตัวอย่างเว็บไซต์สังคมเครือข่าย เช่น ไฮไฟว์ (Hi5)และเฟชบุ๊ค (Facebook)
การค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต
การค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตมีวิธีทำ ดังนี้
1. การสืบค้นข้อมูลผ่านเครื่องมือค้นหา หรือ เชิร์จ เอนจิ้น (Search Engine)
เครื่องมือค้นหาหรือเซิร์จ เอนจิ้น (Search Engine) เป็นเครื่องมือหรือโปรแกรม
ในการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ โดยการรวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
นำมาจัดเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ เพื่อให้สามารถค้นหาและแสดงผลได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
การค้นหาข้อมูลด้วยเซิร์จ เอนจิ้นเพียง พิมพ์คำสำคัญ หรือคีย์เวิร์ด (Key Word) ที่ต้องการค้นหา
และกดปุ่ม Seach ประโยชน์ที่ได้รับจาก เซิร์จ เอนจิ้น คือ ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
สามารถค้นหาแบบเชิงลึกได้ ทั้งข้อมูล รูปภาพ ข่าว MP3 และอื่น ๆ สามารถค้นหาจากเว็บไซต์
เฉพาะทางที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com หรือเว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลและซอฟต์แวร์ เป็นต้น
2. รูปแบบในการค้นหา มี 2 รูปแบบ ดังนี้
2.1 การค้นหาในรูปแบบอินเด็กซ์ ไดเร็กทอรี (Index Directory) วิธีการค้นหาข้อมูลแบบนี้
ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมาก เพราะได้รับการคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่และ
จัดแบ่งแยกไซต์ต่างๆออกเป็นประเภท วิธีใช้งานสามารถคลิกเลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูใน
เว็บเบราว์เซอร์ได้เลยจากนั้นหน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมา
อีกระดับหนึ่งขึ้นมาให้เลือกอีกเมื่อเข้าไปถึงประเภทย่อยที่สนใจแล้วเว็บเพจจะแสดง
รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้องกับประเภทของข้อมูลนั้นๆออกมาถ้าสนใจเอกสารใดก็สามารถ
คลิกเพื่อลิงก์ไปยังเว็บไซต์นั้น โดยจะแสดงผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาทันที
2.2 การค้นหาในรูปแบบเซิร์จ เอนจิ้น (Search Engine) เป็นวิธีการค้นหาข้อมูล
ที่ได้รับความนิยมมาก ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า ร้อยละ 70ใช้วิธีการค้นหาแบบนี้หลักการ
ทำงานของเซิร์จเอนจิ้นแตกต่างจากการใช้อินเด็กซ์คือเป็นการค้นหาจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่
มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบนอินเทอร์เน็ตไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้น
ของความสำคัญการใช้งาน จะคล้ายกับการสืบค้นฐานข้อมูลอื่น ๆ คือ ต้องพิมพ์คำสำคัญ
(Keyword) ซึ่งเป็นการระบุถึงข้อมูลที่ต้องการค้นหา จากนั้นเซิร์จ เอนจิ้น ก็จะแสดง
ข้อมูลและไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องออกมา
2.3หลักการค้นหาข้อมูลของเซิร์จเอนจิ้นหลักการค้นหาข้อมูลของเซิร์จเอนจิ้นแต่ละตัว
มีลักษณะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าศูนย์บริการใช้วิธีการจัดเก็บข้อมูลแบบไหน
แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมีกลไกในการค้นหาที่ใกล้เคียงกันแตกต่างกันที่ประสิทธิภาพของการ
เก็บข้อมูลว่าจะมีข้อมูลเก็บรวบรวมไว้อยู่ในฐานข้อมูลมากน้อยขนาดไหนและนำเอาออกมาบริการ
ให้กับผู้ใช้ได้ตรงตามต้องการหรือไม่ หลักการค้นหาข้อมูลมีดังนี้
- การค้นหาจากชื่อของตำแหน่ง URL ในเว็บไซต์ต่าง ๆ
- การค้นหาจากคำที่มีอยู่ในหัวเรื่อง
- การค้นหาจากคำสำคัญหรือคีย์เวิร์ด
- การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะไซต์
- ค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วยเบราว์เซอร์
2.4 การใช้งานกูเกิ้ล เซิร์จ (Google Search) กูเกิ้ล เซิร์จ คือ เครื่องมือให้บริการ
ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตประเภทเซิร์จ เอนจิ้น ของเว็บไซต์ Google.com
ผู้ใช้งานต่อเชื่อมเข้าสู่เว็บไซต์ www.Google.com จากนั้นพิมพ์ข้อความหรือคำสำคัญ
(Keyword)เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการค้นหาแล้วกดปุ่ม Enter กูเกิ้ล เซิร์จก็จะแสดงเว็บไซต์
ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคำสำคัญเหล่านั้นทันที ไม่เฉพาะแต่เพียงการ ค้นหาข้อมูลในรูปของ
เว็บไซต์เท่านั้น กูเกิ้ล เซิร์จยังสามารถค้นหาข้อมูลที่เป็นไฟล์รูปภาพ (Images)
, กลุ่มข่าว (News Groups)และสารบบเว็บ (Web Directory) ได้อย่างแม่นยำอีกด้วย
1. การสืบค้นข้อมูลผ่านเครื่องมือค้นหา หรือ เชิร์จ เอนจิ้น (Search Engine)
เครื่องมือค้นหาหรือเซิร์จ เอนจิ้น (Search Engine) เป็นเครื่องมือหรือโปรแกรม
ในการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ โดยการรวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
นำมาจัดเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ เพื่อให้สามารถค้นหาและแสดงผลได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
การค้นหาข้อมูลด้วยเซิร์จ เอนจิ้นเพียง พิมพ์คำสำคัญ หรือคีย์เวิร์ด (Key Word) ที่ต้องการค้นหา
และกดปุ่ม Seach ประโยชน์ที่ได้รับจาก เซิร์จ เอนจิ้น คือ ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
สามารถค้นหาแบบเชิงลึกได้ ทั้งข้อมูล รูปภาพ ข่าว MP3 และอื่น ๆ สามารถค้นหาจากเว็บไซต์
เฉพาะทางที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com หรือเว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลและซอฟต์แวร์ เป็นต้น
2. รูปแบบในการค้นหา มี 2 รูปแบบ ดังนี้
2.1 การค้นหาในรูปแบบอินเด็กซ์ ไดเร็กทอรี (Index Directory) วิธีการค้นหาข้อมูลแบบนี้
ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมาก เพราะได้รับการคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่และ
จัดแบ่งแยกไซต์ต่างๆออกเป็นประเภท วิธีใช้งานสามารถคลิกเลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูใน
เว็บเบราว์เซอร์ได้เลยจากนั้นหน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมา
อีกระดับหนึ่งขึ้นมาให้เลือกอีกเมื่อเข้าไปถึงประเภทย่อยที่สนใจแล้วเว็บเพจจะแสดง
รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้องกับประเภทของข้อมูลนั้นๆออกมาถ้าสนใจเอกสารใดก็สามารถ
คลิกเพื่อลิงก์ไปยังเว็บไซต์นั้น โดยจะแสดงผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาทันที
2.2 การค้นหาในรูปแบบเซิร์จ เอนจิ้น (Search Engine) เป็นวิธีการค้นหาข้อมูล
ที่ได้รับความนิยมมาก ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า ร้อยละ 70ใช้วิธีการค้นหาแบบนี้หลักการ
ทำงานของเซิร์จเอนจิ้นแตกต่างจากการใช้อินเด็กซ์คือเป็นการค้นหาจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่
มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบนอินเทอร์เน็ตไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้น
ของความสำคัญการใช้งาน จะคล้ายกับการสืบค้นฐานข้อมูลอื่น ๆ คือ ต้องพิมพ์คำสำคัญ
(Keyword) ซึ่งเป็นการระบุถึงข้อมูลที่ต้องการค้นหา จากนั้นเซิร์จ เอนจิ้น ก็จะแสดง
ข้อมูลและไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องออกมา
2.3หลักการค้นหาข้อมูลของเซิร์จเอนจิ้นหลักการค้นหาข้อมูลของเซิร์จเอนจิ้นแต่ละตัว
มีลักษณะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าศูนย์บริการใช้วิธีการจัดเก็บข้อมูลแบบไหน
แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมีกลไกในการค้นหาที่ใกล้เคียงกันแตกต่างกันที่ประสิทธิภาพของการ
เก็บข้อมูลว่าจะมีข้อมูลเก็บรวบรวมไว้อยู่ในฐานข้อมูลมากน้อยขนาดไหนและนำเอาออกมาบริการ
ให้กับผู้ใช้ได้ตรงตามต้องการหรือไม่ หลักการค้นหาข้อมูลมีดังนี้
- การค้นหาจากชื่อของตำแหน่ง URL ในเว็บไซต์ต่าง ๆ
- การค้นหาจากคำที่มีอยู่ในหัวเรื่อง
- การค้นหาจากคำสำคัญหรือคีย์เวิร์ด
- การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะไซต์
- ค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วยเบราว์เซอร์
2.4 การใช้งานกูเกิ้ล เซิร์จ (Google Search) กูเกิ้ล เซิร์จ คือ เครื่องมือให้บริการ
ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตประเภทเซิร์จ เอนจิ้น ของเว็บไซต์ Google.com
ผู้ใช้งานต่อเชื่อมเข้าสู่เว็บไซต์ www.Google.com จากนั้นพิมพ์ข้อความหรือคำสำคัญ
(Keyword)เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการค้นหาแล้วกดปุ่ม Enter กูเกิ้ล เซิร์จก็จะแสดงเว็บไซต์
ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคำสำคัญเหล่านั้นทันที ไม่เฉพาะแต่เพียงการ ค้นหาข้อมูลในรูปของ
เว็บไซต์เท่านั้น กูเกิ้ล เซิร์จยังสามารถค้นหาข้อมูลที่เป็นไฟล์รูปภาพ (Images)
, กลุ่มข่าว (News Groups)และสารบบเว็บ (Web Directory) ได้อย่างแม่นยำอีกด้วย
คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีทั้งผู้ที่มี ความประพฤติดีและไม่ดีซึ่งสร้างปัญหาให้กับผู้อื่นอยู่เสมอเครือข่ายบางแห่งจึงได้ออกกฎเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ข้อบังคับของเครือข่ายนั้น มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และผู้ร่วมใช้บริการคนอื่น และจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้ บริการต่าง ๆ บนระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัดอยู่ หากแต่เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายต่าง ๆ เข้าด้วยกันนับพัน นับหมื่นเครือข่าย มีข้อมูลระหว่างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่ายอื่น ๆอีกเป็นจำนวนมาก
ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักว่าปริมาณข้อมูลข่าวสารที่อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีจำนวนมาก จะต้องใช้งาน อย่างสร้างสรรค์ และเกิดประโยชน์จึงจะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม กิจกรรมบางอย่างต้องหลีกเลี่ยงไม่ควรปฏิบัติ เช่น การส่งกระจายอีเมลขยะจำนวนมากบนเครือข่าย การส่งจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียสำหรับผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต เพื่อให้การใช้งานร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข
ข้อดีของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตประกอบไปด้วยบริการที่หลากหลาย ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการมากมาย ดังต่อไปนี้
1. ค้นคว้าข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น งานวิจัย บทความในหนังสือพิมพ์ ความก้าวหน้าทางกาแพทย์ ฯลฯ ได้จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก เช่น ห้องสมุด สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการเดินทางและสามารถสืบค้นได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
2. ติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากการรายงานข่าวของสำนักข่าวต่างๆ อยู่ รวมทั้งอ่านบทความเรื่องราวที่ลงในนิตยสารหรือวารสารต่างๆ ได้ฟรีโดยมีทั้งข้อความและภาพประกอบด้วย
3. รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเงินค่าตราไปรษณียากร ถึงแม้จะเป็นการส่งข้อความไปต่างประเทศก็ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเหมือนการส่งจดหมาย การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้นอกจากจะส่งข้อความตัวอักษรแบบจดหมายธรรมดาแล้ว ยังสามารถส่งแฟ้มภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงพร้อมกันไปได้ด้วย
4. สนทนากับผู้อื่นที่อยู่ห่างไกลได้ทั้งในลักษณะการพิมพ์ข้อความและเสียง
5. ร่วมกลุ่มอภิปรายหรือกลุ่มข่าวเพื่อแสดงความคิดเห็น หรือพูดคุยถกปัญหากับผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นการขยายวิสัยทัศน์ในเรื่องที่สนใจนั้นๆ
6. ถ่ายโอนแฟ้มข้อความ ภาพ และเสียงจากที่อื่นๆ รวมทั้งโปรแกรมต่างๆ ได้จากแหล่งที่มีผู้ให้บริการ
7. ตรวจดูราคาสินค้าและสั่งซื้อสินค้ารวมทั้งบริการต่างๆ ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปห้างสรรพสินค้า
8. ให้ความบันเทิงหลายรูปแบบ เช่น การฟังเพลง รายการวิทยุ การชมรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ รวมไปถึงการแข่งขันเกมกับผู้อื่นได้ทั่วโลก
9. ติดประกาศข้อความที่ต้องการให้ผู้อื่นทราบได้อย่างทั่วถึง
10. ให้เสรีภาพในการสื่อสารทุกรูปแบบแก่บุคคลทุกคน
ข้อเสียของอินเทอร์เน็ต
ถึงแม้อินเทอร์เน็ตจะก่อให้เกิดผลดีต่อผู้ใช้มากมาย แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการ ดังต่อไปนี้
1. อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานขนาดใหญ่ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ทุกคนจึงสามารถสร้างเว็บไซด์หรือติดประกาศข้อความได้ทุกเรื่อง บางครั้งข้อความนั้นอาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้รับการรับรอง เช่น ข้อมูลด้านการแพทย์หรือผลการทดลองต่างๆ จึงเป็นวิจารณญาณของผู้อ่านที่จะต้องไตร่ตรองข้อความที่อ่านนั้นด้วยว่าควรจะเชื่อถือได้หรือไม่
2. นักเรียนและเยาวชนอาจติดต่อเข้าไปในเว็บไซด์ที่ไม่เป็นประโยชน์หรืออาจยั่วยุอารมณ์ ทำให้เป็นอันตรายตัวตัวเองและสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น