ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก

หน่วยที่ 3

หน่วยที่3 การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
ความรู้พื้นฐานเรื่องการสื่อสาร
                         การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตมนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลาการสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มากการสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบันซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์เป็นยุคของข้อมูลข่าวสารการสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคมการสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้นการสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคมเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้งทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนาเรียนรู้และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชนและสังคมในทุกด้าน
                         คำว่าการสื่อสาร (communications)  มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่าcommunis หมายถึงความเหมือนกันหรือร่วมกันการสื่อสาร (communication)    หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลความรู้ประสบการณ์ความรู้สึกความคิดเห็นความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่างๆที่อาจเป็นการพูดการเขียนสัญลักษณ์อื่นใดการแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่างๆไปยังผู้รับสารซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมหรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสารโดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกันบริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล
                         การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต  มนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา  การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์  การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาก   การสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร  การสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคม การสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น   การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคม เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง   ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนา เรียนรู้ และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ  สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชน และสังคมในทุกด้าน   
โดยสรุป "การสื่อสาร คือ กระบวนการของการถ่ายทอดสาร   (message) จากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้ส่งสาร (source) ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง    ซึ่งเรียกว่า ผู้รับสาร (receiver) โดยผ่านสื่อ (channel)"
กระบวนการสื่อสาร
                         กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) โดยทั่วไปเริ่มต้นจากผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวมแนวความคิดหรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสาร ก็จะแปลงแนวความคิดหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สี การเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส(Encoding) แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels)ประเภทต่าง ๆ หรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสาร เมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะถอดรหัส (Decoding) ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีต หรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้น และมีปฏิกริยาตอบสนองกลับไปยังผู้ส่งข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปขอความรู้ ความเข้าใจ การตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียงก็เป็นได้ ทั้งนี้ข่าวสารที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารอาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้ หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไปเพราะในกระบวนการสื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวน หรือตัวแทรกแซง(Noise or Interferes) ได้ ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร
คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร
                         1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
                         2. มีทักษะในการสื่อสาร
                         3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็ว และมีความจำดี
                         4. มีความซื่อตรง มีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
                         5. มีความคิดสุขุม รอบคอบ
                         6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
                         7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
                         8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ
                         9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
                         10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคน
                         11. รู้ขั้นตอนการทำงาน
                         12. มีมนุษยสัมพันธ์ดี  
ความสำคัญของการสื่อสาร  การสื่อสารมีความสำคัญดังนี้ 
1.  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ  ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร   ทุกสาขาอาชีพก็ต้องใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน  การทำธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา   พัฒนาการทางสังคม จึงดำเนินไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร 
2.  การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม    ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม   ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี  สะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรือง  วิถีชีวิตของผู้คน  ช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 
3.  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม การพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งศาสตร์ในการสื่อสาร จำเป็นต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ  
องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสาร มี 4ประการดังนี้ 
                1. ผู้ส่งสาร (sender) หรือ แหล่งสาร (source) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสาร หรือเป็นแหล่งกำเนิดสาร ที่เป็นผู้เริ่มต้นส่งสารด้วยการแปลสารนั้นให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิด ได้แก่ ภาษาและอากัปกิริยาต่าง ๆ เพื่อสื่อสารความคิด  ความรู้สึก ข่าวสาร ความต้องการและวัตถุประสงค์ของตนไปยังผู้รับสารด้วยวิธีการใด ๆ หรือส่งผ่านช่องทางใดก็ตาม   จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม    เช่น  ผู้พูด  ผู้เขียน  กวี  ศิลปิน นักจัดรายการวิทยุ  โฆษกรัฐบาล  องค์การ  สถาบัน  สถานีวิทยุกระจายเสียง  สถานีวิทยุโทรทัศน์   กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์  หน่วยงานของรัฐ  บริษัท  สถาบันสื่อมวลชน  เป็นต้น

                คุณสมบัติของผู้ส่งสาร

                1.  เป็นผู้ที่มีเจตนาแน่ชัดที่จะให้ผู้อื่นรับรู้จุดประสงค์ของตนในการส่งสาร แสดงความคิดเห็น หรือวิจารณ์ ฯลฯ 
                2.  เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาของสารที่ต้องการจะสื่อออกไปเป็นอย่างดี           
                3.  เป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะที่ดี มีความน่าเชื่อถือ แคล่วคล่องเปิดเผยจริงใจ และมีความรับผิดชอบ  ในฐานะเป็นผู้ส่งสาร
                4.  เป็นผู้ที่สามารถเข้าใจความพร้อมและความสามารถในการรับสารของผู้รับสาร 
                5.  เป็นผู้รู้จักเลือกใช้กลวิธีที่เหมาะสมในการส่งสารหรือนำเสนอสาร   

                2.  สาร (message) หมายถึง  เรื่องราวที่มีความหมาย หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์ ฯลฯ   ซึ่งถ่ายทอดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารให้ได้รับรู้ และแสดงออกมาโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใด ๆ  ที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้  เช่น  ข้อความที่พูด   ข้อความที่เขียน   บทเพลงที่ร้อง  รูปที่วาด  เรื่องราวที่อ่าน  ท่าทางที่สื่อความหมาย  เป็นต้น
                2.1  รหัสสาร
 (message code)ได้แก่ ภาษา สัญลักษณ์ หรือสัญญาณที่มนุษย์ใช้เพื่อแสดงออกแทนความรู้ ความคิด อารมณ์ หรือความรู้สึกต่าง ๆ  
                2.2  เนื้อหาของสาร
  (message content) หมายถึง บรรดาความรู้ ความคิดและประสบการณ์ที่ผู้ส่งสารต้องการจะถ่ายทอดเพื่อการรับรู้ร่วมกัน แลกเปลี่ยนเพื่อความเข้าใจร่วมกันหรือโต้ตอบกัน 
                2.3  การจัดสาร
 (message treatment) หมายถึง การรวบรวมเนื้อหาของสาร แล้วนำมาเรียบเรียงให้เป็นไปอย่างมีระบบ   เพื่อให้ได้ใจความตามเนื้อหา ที่ต้องการด้วยการเลือก ใช้รหัสสารที่เหมาะสม 


                3.  สื่อ หรือช่องทาง (media or channel) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการสื่อสาร  หมายถึง  สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร  ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร   ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร    
การแบ่งประเภทของสื่อมีหลากหลายต่างกันออกไป  ดังนี้
(สถาบันราชภัฏสวนดุสิต, 2542: 6 )
เกณฑ์การแบ่ง
ประเภทของสื่อ
ตัวอย่าง
1.  แบ่งตามวิธีการเข้า  และถอดรหัส
สื่อวัจนะ (verbal)
สื่ออวัจนะ (nonverbal)
คำพูด ตัวเลข
สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง
หนังสือพิมพ์ รูปภาพ
2.  แบ่งตามประสาทการรับรู้
สื่อที่รับรู้ด้วยการเห็น
สื่อที่รับรู้ด้วยการฟัง
สื่อที่รู้ด้วยการเห็นและการฟัง
นิตยสาร
เทป วิทยุ
โทรทัศน์ ภาพยนตร์
วีดิทัศน์
3.  แบ่งตามระดับการสื่อสาร หรือจำนวนผู้รับสาร
สื่อระหว่างบุคคล
สื่อในกลุ่ม
สื่อสารมวลชน
โทรศัพท์ จดหมาย
ไมโครโฟน
โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์
4.  แบ่งตามยุคสมัย
สื่อดั้งเดิม
สื่อร่วมสมัย
สื่ออนาคต
เสียงกลอง ควันไฟ
โทรศัพท์ โทรทัศน์ เคเบิล
วีดิโอเทกซ์
5.  แบ่งตามลักษณะของสื่อ
สื่อธรรมชาติ
สื่อมนุษย์หรือสื่อบุคคล
สื่อสิ่งพิมพ์
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
สื่อระคน
อากาศ แสง เสียง
คนส่งของ ไปรษณีย์ โฆษก
หนังสือ นิตยสาร ใบปลิว
วิทยุ วีดิทัศน์
ศิลาจารึก สื่อพื้นบ้าน
หนังสือ ใบข่อย 
6.  แบ่งตามการใช้งาน
สื่อสำหรับงานทั่วไป
สื่อเฉพาะกิจ
จดหมายเวียน โทรศัพท์
วารสาร จุดสาร วีดิทัศน์
7.  แบ่งตามการมีส่วนร่วม
ของผู้รับสาร
สื่อร้อน
สื่อเย็น
การพูด
การอ่าน
                4.  ผู้รับสาร (receiver)  หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสาร 
จากผู้ส่งสาร   และแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ต่อผู้ส่งสาร  หรือส่งสารต่อไปถึงผู้รับสารคนอื่น ๆ ตามจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร   เช่น   ผู้เข้าร่วมประชุม   ผู้ฟังรายการวิทยุ   กลุ่มผู้ฟังการอภิปราย  ผู้อ่านบทความจากหนังสือพิมพ์  เป็นต้น
บริบทในการสื่อสาร
คำอธิบาย: http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/image/commu1.jpg





หลักในการสื่อสาร
การสื่อสารจะประสบความสำเร็จตรงตามจุดประสงค์หรือไม่ผู้ส่งสารควรคำนึงถึงหลักการสื่อสาร ดังนี้  (ภาควิชาภาษาไทย สถาบันราชภัฏเทพสตรี ลพบรี, 2542: 13-14)
                1.  ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์ จะต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสาร และปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรู้ การคิด การเรียนรู้ การจำ ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพ ในการสื่อสาร 
                2.  ผู้ที่จะสื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร บริบทในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่อยู่แวดล้อมที่มีส่วนในการกำหนดรู้ความหมายหรือความเข้าใจในการสื่อสาร 
                3.  คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง (frame of reference) มนุษย์ทุกคนจะมีพื้นความรู้ทักษะ เจตคติ ค่านิยม สังคม ประสบการณ์ ฯลฯ เรียกว่าภูมิหลังแตกต่างกัน ถ้าคู่สื่อสารใดมีกรอบแห่ง การอ้างอิงคล้ายกัน   ใกล้เคียงกัน จะทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น
                4.  การสื่อสารจะมีประสิทธิผล เมื่อผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทาง  ที่เหมาะสม ถึงผู้รับสารที่มีทักษะในการสื่อสารและมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน 
                5.  ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า เพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่น สะดวก รวดเร็ว เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที หากจะเกิดอุปสรรค์ ที่จุดใดจุดหนึ่ง 
                6.  คำนึงถึงการใช้ทักษะ เพราะภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในการ 
สื่อความหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสื่อสาร คู่สื่อสารต้องศึกษาเรื่องการใช้ภาษา และสามารถใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคล เนื้อหาของสาร และช่องทางหรือสื่อ ที่ใช้ในการสื่อสาร 
                7.  คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลา ถือเป็นการประเมินผลการสื่อสาร ที่จะทำให้คู่สื่อสารรับรู้ผลของการสื่อสารว่าประสบผลดีตรงตามวัตถุหรือไม่ ควรปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อบกพร่องใด เพื่อที่จะทำให้การสื่อสารเกิดผลตามที่ต้องการ
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
คณาจารย์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (2551: 17)  กล่าวถึง วัตถุประสงค์ของการสื่อสารไว้ดังนี้
              1.  เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform)  ในการทำการสื่อสาร  ผู้ทำการสื่อสารควรมีความ ต้องการที่จะบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสาร  เรื่องราว  เหตุการณ์ หรือสิ่งอื่นใดให้ผู้รับสารได้รับทราบ          
              2.  เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education)  ผู้ทำการสื่อสารอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อจะ ถ่ายทอดวิชาความรู้  หรือเรื่องราวเชิงวิชาการ  เพื่อให้ผู้รับสารได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น     
              3.  เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain)  ผู้ทำการสื่อสารอาจ ใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อสร้างความพอใจ  หรือให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสาร  โดยอาศัยสารที่ตนเองส่งออกไป  ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน  หรือการแสดงกิริยาต่าง ๆ
                4.  เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade) ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ใน การสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะ หรือชักจูงใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสาร และอาจชักจูงใจให้ผู้รับสารมีความคิดคล้อยตาม หรือยอมปฏิบัติตามการเสนอแนะของตน    
               5.  เพื่อเรียนรู้ (learn) วัตถุประสงค์นี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้รับสาร  การแสวงหาความรู้ ของผู้รับสาร โดยอาศัยลักษณะของสาร  ในกรณีนี้มักจะเป็นสารที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชาความรู้  เป็นการหาความรู้เพิ่มเติมและเป็นการทำความเข้าใจกับเนื้อหาของสารที่ผู้ทำการสื่อสารถ่ายทอดมาถึงตน   
              6.  เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide)  ในการดำเนินชีวิตของคนเรามี สิ่งหนึ่งที่ต้องกระทำ อยู่เสมอก็คือ  การตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง  ซึ่งการตัดสินใจ นั้นอาจได้รับการเสนอแนะ  หรือชักจูงใจให้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้จากบุคคลอื่นอยู่เสมอ  ทางเลือกในการ ตัดสินใจของเราจึงขึ้นอยู่กับข้อเสนอแนะนั้น 
อุปสรรคในการสื่อสาร
อุปสรรคในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร   อุปสรรคในการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร ดังนั้นอุปสรรค ในการสื่อสารจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1.  อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร
  1.1 ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ
                 1.2 ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม
                 1.3 ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี และไม่เหมาะสม
                 1.4 ผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร
                 1.5ผู้ ส่งสารขาดความพร้อมในการส่งสาร
                 1.6 ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร
2.  อุปสรรคที่เกิดจากสาร
                  2.1  สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร อาจยากหรือง่ายเกินไป
                  2.2  สารขาดการจัดลำดับที่ดี สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน
                  2.3  สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ
                  2.4  สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ ขาดความชัดเจน
3.  อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ หรือช่องทาง
                 3.1  การใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำเสนอ
                 3.2  การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี
                 3.3  การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร
 4.  อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร
 4.1  ขาดความรู้ในสารที่จะรับ
                4.2  ขาดความพร้อมที่จะรับสาร
                 4.3  ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร
                 4.4  ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร
                 4.5  ผู้รับสารมีความคาดหวังในการสื่อสารสูงเกินไป
คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร
          1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
          2. มีทักษะในการสื่อสาร
          3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็ว และมีความจำดี
          4. มีความซื่อตรง มีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
          5. มีความคิดสุขุม รอบคอบ
          6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
          7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
          8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ
          9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
         10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคน
         11. รู้ขั้นตอนการทำงาน
         12. มีมนุษยสัมพันธ์ดี

ประเภทของการสื่อสาร
                         การจำแนกประเภทของการสื่อสารมีผู้จำแนกไว้หลายๆประเภทโดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณาตามจุดประสงค์ของการศึกษาหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะนำเสนอซึ่งสรุปได้ตามตารางดังนี้
เกณฑ์การแบ่ง
ประเภทของการสื่อสาร
ตัวอย่าง
1.  จำนวนผู้ทำการสื่อสาร
1.1  การสื่อสารภายในตัวบุคคล (intrapersonal communication)
การพูดกับตัวเอง
การคิดคำนึงเรื่องต่าง ๆ
การร้องเพลงฟังเอง
การคิดถึงงานที่จะทำ เป็นต้น
1.2  การสื่อสารระหว่างบุคคล (interpersonal communication)
การพูดคุยระหว่างบุคคล 2 คนขึ้นไป
การพูดคุย
การเขียนจดหมาย
การโทรศัพท์
การประชุมกลุ่มย่อย เป็นต้น
1.3  การสื่อสารกลุ่มใหญ่
(large group communication)
การอภิปรายในหอประชุม
การพูดหาเรื่องเลือกตั้ง
การปราศรัยในงานสังคม
การกล่าวปาฐกถา ในหอประชุม
การบรรยายทางวิชาการ ณ ศูนย์เรียนรวม เป็นต้น
1.4  การสื่อสารในองค์กร (organizational communication)
การสื่อสารในบริษัท
การสื่อสารในหน่วยงาน ราชการ
การสื่อสารในโรงงาน
การสื่อสารของธนาคาร
เป็นต้น
1.5  การสื่อสารมวลชน
(mass communication)
การสื่อสารที่ผ่านสื่อเหล่านี้ คือ
หนังสือพิมพ์, นิตยสาร
วิทยุ
โทรทัศน์
ภาพยนตร์
เป็นต้น
2.การเห็นหน้ากัน
2.1  การสื่อสารแบบเผชิญหน้า
(face to face communication)
การสนทนาต่อหน้ากัน
การประชุมสัมมนา
การสัมภาษณ์เฉพาะหน้า
การเรียนการสอนในชั้นเรียน
การประชุมกลุ่มย่อย
เป็นต้น
2.2  การสื่อสารแบบไม่เผชิญหน้า
(interposed communication)
เอกสารการสื่อสารที่ผ่าน
สื่อมวลชนทุกชนิด คือ
หนังสือพิมพ์
วิทยุ
โทรทัศน์
วีดิทัศน์การสื่อสารที่ผ่าน สื่อมวลชนทุกชนิด
จดหมาย/โทรเลข/โทรสาร
อินเตอร์เน็ต
เป็นต้น
3.  ความสามารถในการโต้ตอบ
3.1 การสื่อสารทางเดียว
(one-way communication)
การสื่อสารที่ผ่านสื่อมวลชนทุกชนิด คือ
วิทยุ/โทรทัศน์/วีดิทัศน์
โทรเลข/โทรสาร
ภาพยนตร์
เป็นต้น
3.2 การสื่อสารสองทาง
(two-way communication)
การสื่อสารระหว่างบุคคล
การสื่อสารในกลุ่ม
การพูดคุย / การสนทนา   เป็นต้น
4.  ความแตกต่างระหว่าง
ผู้รับสารและผู้ส่งสาร
4.1  การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ (interracial communication)
ชาวไทยสื่อสารกับคน ต่างประเทศ
คนจีน, มาเลย์, อินเดีย ใน ประเทศมาเลเซีย สื่อสารกัน เป็นต้น
4.2  การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (gosscultural communication)
การสื่อสารระหว่างคนไทยภาคใต้กับภาคเหนือหรือ ภาคอื่น ๆ
ชาวไทยสื่อสารกับชาวเขา   เป็นต้น
4.3  การสื่อสารระหว่างประเทศ (international communication)
การเจรจาติดต่อสัมพันธ์ทางการทูต
การเจรจาในฐานะตัวแทน รัฐบาล   เป็นต้น
5.  การใช้ภาษา
5.1  การสื่อสารเชิงวัจนภาษา (verbal communication)
การพูด, การบรรยาย
การเขียนจดหมาย, บทความ
เป็นต้น
5.2  การสื่อสารเชิงอวัจนภาษา (non-verbal communication)
การสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ, คำพูด
อาการภาษา, กาลภาษา, เทศภาษา, สัมผัสภาษา, เนตรภาษา, วัตถุภาษา
และปริภาษา  เป็นต้น
    
                หน้าที่ของกระบวนการสื่อสาร
                1.การสื่อสารในฐานะเครื่องมือให้ได้สิ่งที่ต้องการ
                2.การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์
                3.การสื่อสารส่วนบุคคล
                4.การสื่อสารเพื่อเสาะแสวงหาคำตอบ
                5.การสื่อสารเพื่อสร้างจินตนาการ 
พัฒนาการของการสื่อสาร
                         การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของโลก นับตั้งแต่มนุษย์ได้มีการรวมกลุ่มกันเป็นสังคมขนาดใหญ่นั้น อาจแบ่งออกเป็น 3 ยุค ที่สำคัญตามลำดับ คือ เริ่มแรกเป็นยุคของเกษตรกรรม ต่อมาเปลี่ยนแปลงเป็นยุคอุตสาหกรรม และถึงปัจจุบันได้ชื่อว่าเป็นยุคของการสื่อสาร
                         เหตุที่ยุคปัจจุบันได้รับการเรียกขานว่าเป็นยุคของการสื่อสาร เพราะเป็นยุคที่เทคโนโลยีด้านการสื่อสารข้อมูลต่างๆ มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก และอัตราความเจริญเป็นไปอย่างรวดเร็ว หลายอย่างแทบไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์จะสามารถคิดค้นขึ้นมาได้ในศตวรรษนี้ ความเจริญก้าวหน้าของการสื่อสารดังกล่าว ก่อนที่จะมาถึงจุดนี้นั้น ย่อมจะมีพัฒนาการมายาวนาน พร้อมกับการเกิดขึ้นของสังคมมนุษย์ตั้งแต่ยุคโบราณ
การสื่อสารในยุคโบราณ
                         การสื่อสารในยุคโบราณ เป็นการสื่อสารอย่างง่ายตามธรรมชาติของการดำเนินชีวิตในสมัยนั้น แม้ว่าการใช้ภาษาหรือรหัสสัญญาณในการสื่อสารจะอยู่ในขอบเขตจำกัด แต่ก็สามารถสื่อสารกันได้ผลดี เพราะผู้คนมีจำนวนน้อย การสื่อสารจึงไม่ซับซ้อน และมนุษย์เองก็มีนิสัยชอบบอกกล่าวถึงสิ่งที่ตนค้นพบ หรือเห็นว่าน่าสนใจให้คนอื่นได้ทราบอยู่แล้ว นอกจากการบอกกล่าวโดยการสื่อสารอย่างง่าย ด้วยคำพูดหรือภาษาท่าทางแล้ว ภาพเขียนโบราณตามผนังถ้ำ เป็นหลักฐานสำคัญอันหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นความพยายามที่จะสื่อความหมายของมนุษย์ ไม่ว่าภาพหรือรอยขีดเขียนเหล่านั้น จะขีดเขียนเพื่อความเพลิดเพลิน หรือเขียนขึ้นเพื่อบอกกล่าวให้ผู้อื่น โดยเฉพาะคนรุ่นหลังได้ทราบก็ตาม ย่อมมีคุณค่าในแง่การสื่อสารเสมอ การสื่อสารในยุคนี้ เป็นการสื่อสารกลุ่มย่อยเท่านั้น เชื่อว่ายังไม่มีการสื่อสารแบบมวลชนเกิดขึ้น
การสื่อสารในยุคเกษตรกรรม
                         ในยุคนี้เกิดการรวมกลุ่มกันเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีหัวหน้าหรือกษัตริย์ผู้ปกครอง พัฒนาการทางด้านความรู้ ความคิด การเมืองการปกครอง ทำให้จำเป็นต้องคิดค้นภาษา หรือสัญลักษณ์เพื่อใช้ในการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การสื่อสารจึงมีความซับซ้อนขึ้นตามไปด้วย เริ่มจากการสื่อสารด้วยการเขียนภาพเหมือนของจริงในสมัยโบราณ กลายมาเป็นอักษรภาพ และตัวอักษรที่มีลักษณะเป็นนามธรรมขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการค้นพบกรรมวิธีทางการพิมพ์ยิ่งเป็นการช่วยสนับสนุนให้เกิดการบันทึกและเผยแพร่ความรู้ข่าวสารต่างๆ มากขึ้นเป็นลำดับ มีความพยายามที่จะติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข่าวสาร ศิลปวัฒนธรรมระหว่างชุมชน เมื่อมีการอยู่รวมกันเป็นชุมชนขนาดใหญ่ การสื่อสารแบบมวลชนจึงเกิดขึ้น
การสื่อสารในยุคอุตสาหกรรม
                         เนื่องจากประชากรโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้น มีการติดต่อค้าขายระหว่างกลุ่มชนประกอบกับมีการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ เช่น การไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ เครื่องจักรทุ่นแรง เป็นเหตุผลักดันให้ต้องแสวงหากรรมวิธีในการผลิตสินค้า ให้เพียงพอต่อความต้องการ เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างขนานใหญ่ โดยเริ่มจากประเทศในยุโรป และขยายไปทั่วโลกในเวลาต่อมา จากสังคมเกษตรกรรม กลายเป็นสังคมอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนขึ้น ผู้คนทำงานแข่งกับเวลาเพื่อให้ได้ผลผลิตมากๆ เมื่อสังคมมีความซับซ้อน การสื่อสารก็มีความซับซ้อนตามไปด้วย การสื่อสารแบบมวลชนมีความสำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในยุคนี้พัฒนาการของเครื่องมือการสื่อสาร ไฟฟ้า โทรเลข วิทยุ โทรทัศน์ และความก้าวหน้าทางการพิมพ์ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ส่งเสริมให้การสื่อสารทั้งระหว่างบุคคลและการสื่อสารแบบมวลชนขยายตัวอย่างกว้างขวาง
การสื่อสารในยุคปัจจุบัน
                         ปัจจุบันได้ชื่อว่า เป็นยุคของการสื่อสารอย่างแท้จริง การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทุกๆ ด้าน ทำให้การสื่อสารกลายเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมาก สภาพของสังคมปัจจุบัน ทั้งในระดับชุมชน ระดับประเทศหรือระดับโลก เกิดการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ การแก่งแย่งทางการค้า จากอดีตที่เคยทำสงครามรบพุ่งฆ่าฟันกันด้วยอาวุธ เพื่อครอบครองดินแดน และหาแหล่งทรัพยากร กลายมาเป็นการทำสงครามทางการค้า และสงครามทางวัฒนธรรม สภาพของสังคมเช่นนี้ ผู้ที่ทราบหรือครอบครองข่าวสารข้อมูลมากกว่า ย่อมเป็นผู้ได้เปรียบ ข่าวสารข้อมูลต่างๆ ย่อมได้มาโดยวิธีการของการสื่อสาร ซึ่งนับว่าปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างยิ่ง ทั้งในด้านเทคนิควิธีการ และเครื่องมือสื่อสารอันทันสมัย เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง และใช้งานได้อย่างหลากหลาย การสื่อสารทางไกล ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ ไม่เพียงเฉพาะการสื่อสารระหว่างอำเภอ จังหวัด หรือระหว่างประเทศ ข้ามทวีปเท่านั้น ปัจจุบันเราสามารถสื่อสารได้ถึงระดับดวงดาว ทั้งภาพ และเสียง
พื้นฐานทางจิตวิทยาของการเรียนรู้
 1. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivist Perspective) นัก จิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม หรือนักจิตวิทยากลุ่มความรู้ความเข้าใจ เชื่อว่ามนุษย์เรียนรู้จากประสบการณ์ ประสบการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม จุดเริ่มของการเรียนรู้จะอยู่ที่การรู้จักจำแนก (Differentiation) สิ่งต่างๆ ที่ไม่เหมือนกันออกจากกัน และสามารถจัดไว้เป็นกลุ่มหรือพวก ประสบการณ์ในการรู้จำแนกจะนำไปสู่การพัฒนาแนวคิด (Concept) ในเรื่องนั้นๆ กระบวนการขั้นต่อไปก็คือ การนำแนวคิดเหล่านั้นมาบูรณาการ (Integration) เข้า ด้วยกัน เกิดการเรียนรู้ขึ้นเป็นหลักการ และทฤษฎีต่างๆ ซึ่งเป็นความรู้ความเข้าใจในลักษณะที่เป็นนามธรรมและสามารถเชื่อมโยงความรู้ ที่ได้นี้ไปเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในสิ่งอื่นๆ ต่อไป
          Schemata (Schema)
          Assimilation
          Accommodation
2. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist Perspective) นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม เชื่อว่าการเรียนรู้คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
          1. แรงขับ (Drive) หมายถึง ความต้องการของผู้เรียน ซึ่งจะจูงใจผู้เรียนให้หาทางสนองตอบต่อความต้องการของตนเอง
          2. สิ่งเร้า (Stimulu s) สิ่งเร้าอาจเป็นความรู้หรือการชี้แนะจากครูหรือจากแหล่งการเรียน (สื่อ) ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบสนอง
          3. การตอบสนอง (Response) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่สังเกตได้จากพฤติ กรรมของผู้เรียนที่แสดงออกมา
          4. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้รางวัลเมื่อผู้เรียนตอบสนองได้ถูกต้อง
               สื่อ การสอนเปรียบเสมือนสิ่งเร้าเพื่อการเรียนรู้ ตัวอย่างสื่อการสอนที่ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้นี้ได้แก่ บทเรียนโปรแกรม ชุดการสอนและนวกรรมการสอนประเภทต่างๆ
3. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มสร้างสรรค์ความรู้ ( Constructivist Perspective ) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวต่อเนื่องจากกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivist) ที่ เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการสร้างสรรค์ของผู้เรียน ด้วยการนำความรู้เดิม (ประสบการณ์) มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์อย่างมีเหตุผล แล้วประมวลเป็นความรู้ใหม่เพื่อนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาต่อไป ทั้งนี้ผู้เรียนจะเป็นผู้สร้างสรรค์ด้วยการแปลความหมาย (Interpretation) ข้อมูล และสารสนเทศที่มีอยู่รอบๆ ตัวด้วยตนเองดังนั้น จุดประสงค์การเรียนการสอนจึงไม่ใช่การสอนความรู้ แต่เป็นการสร้างสรรค์สถานการณ์ต่างๆ ที่ผู้เรียนสามารถแปลความหมายของข้อความรู้ต่างๆ เพื่อความเข้าใจด้วยตัวของผู้เรียนเองดังนั้น การเรียนการสอนตามความเชื่อของนักจิตวิทยากลุ่มนี้ก็คือ การชี้แนะแนวทางการเรียนเพื่อเกิดการเรียนรู้ตามความสามารถของผู้เรียน การวัด และประเมินผลการเรียนจะอยู่บนพื้นฐานของความสามารถของผู้เรียนในการใช้ความ รู้เพื่อเกื้อหนุนการคิดในการดำรงชีวิตจริง
4. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มจิตวิทยาสังคม ( Social-Psychological Perspective ) จิตวิทยา สังคมเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่รู้จักกันมานานในการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการส อน นักจิตวิทยาสังคมเชื่อว่า ลักษณะกลุ่มสังคมในห้องเรียนมีผลต่อการเรียนรู้ เช่น การเรียนแบบอิสระ การเรียนเป็นกลุ่มเล็ก หรือการเรียนรวมทั้งชั้น บทบาทสำคัญของการเรียนจะอยู่ที่ว่า ผู้เรียนสามารถควบคุมกิจกรรมการเรียนได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งผลการศึกษาพบว่า การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) มีผลดีกว่าการเรียนแบบแข่งขัน (Competitive Learning




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น