ความหมายของนวัตกรรม
นวัตกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ
หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน
หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
นวัตกรรม
หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ใหม่หรือสิ่งประดิษฐ์ที่มีการปรับปรุงแก้ไขด้านกระบวนการให้ทันสมัยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษาครอบคลุมระบบการนำวิธีการมาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล
และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน
การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ
การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
ความหมายที่กว้างกว่า
ซึ่งอาจจะพิจารณาจากความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ
1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ
ตามความคิดรวบยอดนี้
เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ
มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่การใช้เครื่องมือเหล่านี้มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา
ตามความคิดรวบยอดนี้
ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป
คือมีเพียงวัสดุ
และอุปกรณ์เท่านั้น
ไม่รวมวิธีการ
หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย
ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ
"โสตทัศนศึกษา" นั่นเอง
2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์
เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา
มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา
การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก
การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ
หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา 1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
1.1 คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
1.3 เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
1.4 สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด ‘แบบเรียนโปรแกรม’ ซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
ตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบัน
1. e-Learning เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่
ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร
เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learningหรือ Electronic
Learning ว่า หมายถึง
"การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ
นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์
ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ฯลฯ
2. การศึกษาทางไกล (Distance
Education) หมายถึง ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ ไกลกัน
แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยอาศัยสื่อการสอนในลักษณะของสื่อประสม กล่าวคือ
การใช้สื่อต่างๆ ร่วมกัน เช่น ตำราเรียน เทปเสียง แผนภูมิ คอมพิวเตอร์
หรือโดยการใช้อุปกรณ์ทาง โทรคมนาคม
และสื่อมวลชนประเภทวิทยุและโทรทัศน์เข้ามาช่วยในการแพร่กระจาย
การศึกษาไปยังผู้ที่ปรารถนาจะเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางทั่วทุกท้องถิ่น
3. Asynchronous Learning คือ รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้สอน
และผู้เรียนไม่จำเป็นต้องพบกันตามเวลาในตาราง ที่กำหนดไว้ (Synchronous
Learning) แต่ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา
โดยใช้เครื่องมือสื่อ สารต่าง ๆ
ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่
ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหน เวลาใดก็ได้ (Anywhere Anytime) เป็นการเรียนที่อาศัยวิธีการ
หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ในลักษณะที่ปฏิสัมพันธ์
และมีส่วนร่วมช่วยเหลือกันระหว่าง ผู้เรียน โดยใช้แหล่ง ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ
ทั้งใกล้และไกล ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า หรือเข้าถึงข้อมูลความรู้เหล่านั้น
จากที่ไหน และเวลาใดก็ได้ ตามความต้องการและความสะดวกของผู้เรียนเอง ซึ่ง Asynchronous
Learning เป็นการใช้การสื่อสารระยะไกล (Telecommunication) เพื่อช่วยให้การเรียนรู้มีลักษณะใกล้เคียงกับการเรียนในระบบห้องเรียนหรือการเรียนการสอนที่ผู้สอนกับผู้เรียนได้พบหน้ากัน
(Face - to - Face Instruction)
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป
อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ
คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
-
การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2.
ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า
เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน
วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่
ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้
เช่น- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
- ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3.
การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์
เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา
ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน
บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น
นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
-
การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4.
ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ
และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น
เช่น
-
มหาวิทยาลัยเปิด- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
เกณฑ์ในการพิจารณานวัตกรรม
เพื่อที่จะสามารถแยกแยะได้ว่าวิธีการที่นำมาใช้ในกระบวนการใด
ๆ นั้น จะเรียกว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรม ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2526:37
ได้กล่าวถึง) เกณฑ์ของนวัตกรรมไว้ว่าประกอบด้วยลักษณะ 4 ประการคือ
1)
เป็นวิธีการใหม่ทั้งหมดหรือเกิดจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการเดิม
2) มีการนำเอาระบบ (System)
พิจารณาองค์ประกอบของกระบวนการดำเนินการ นั้น ๆ
3) มีการวิจัย
หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า ทำให้กระบวนการดำเนินงานนั้น ๆ มี
ประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม
4) ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบในปัจจุบัน
กล่าวคือหากวิธีการนั้น ๆ ได้รับการนำเอา ไปใช้อย่างกว้างขวางโดยทั่วไปแล้ว และวิธีการนั้นมีประสิทธิภาพก็จะถือว่าวิธีการนั้น
ๆ นับเป็นเทคโนโลยี
การปฏิเสธนวัตกรรมเมื่อมีผู้ค้นคิดหานวัตกรรมมาใช้ไม่ว่าในวงการใดก็ตาม
มักจะได้รับการต่อต้านหรือ การปฏิเสธ ตัวอย่างเช่นการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป
ลัทธิการปกครอง หรือวิธีการสอนใหม่ ๆ เนื่องมาจากสาเหตุหลายประการด้วยกันดังนี้
1) ความเคยชินกับวิธีการเดิม ๆ
เนื่องจากบุคคลมีความเคยชินกับวิธีการเดิม ๆ ที่
ตนเองเคยใช้และพึงพอใจในประสิทธิภาพของวิธีการนั้น ๆ
บุคคลผู้นั้นก็มักที่จะยืนยันในการใช้วิธีการนั้น ๆ ต่อไปโดยยากที่จะเปลี่ยนแปลง
2) ความไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรม
แม้บุคคลผู้นั้นจะทราบข่าวสารของ นวัตกรรมนั้น ๆ
ในแง่ของประสิทธิภาพว่าสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ
ได้เป็นอย่างดีก็ตาม การที่ตนเองมิได้เป็นผู้ทดลองใช้นวัตกรรมนั้น ๆ
ก็ย่อมทำให้ไม่แน่ใจว่านวัตกรรมนั้น ๆ มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่
3) ความรู้ของบุคคลต่อนวัตกรรม
เนื่องจากนวัตกรรมเป็นสิ่งที่โดยมากแล้วบุคคลส่วนมากมีความรู้ไม่เพียงพอแก่การที่จะเข้าใจในนวัตกรรมนั้นๆ
ทำให้มีความรู้สึกท้อถอยที่จะเข้าใจในนวัตกรรมนั้น ๆ
ทำให้มีความรู้สึกท้อถอยที่จะแสวงหานวัตกรรมมาใช้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างหนึ่งของนวัตกรรมที่นำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
ผู้ที่มีความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ไม่พอเพียงก็จะรู้สึกท้อถอยและปฏิเสธในการที่จะนำนวัตกรรมนี้มาใช้ในการเรียนการสอนในชั้นของตน
4) ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ
โดยทั่วไปแล้วนวัตกรรมมักจะต้องนำเอาเทคโนโลยี สมัยใหม่มาใช้ในการพัฒนานวัตกรรม
ดังนั้นค่าใช้จ่ายของนวัตกรรมจึงดูว่ามีราคาแพง ในสภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไป
จึงไม่สามารถที่จะรองรับต่อค่าใช้จ่ายของนวัตกรรมนั้น ๆ
แม้จะมองเห็นว่าจะช่วยให้การดำเนินการ โดยเฉพาะการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงขึ้นจริง
ดังนั้นจะเป็นได้ว่าปัญหาด้านงบประมาณเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการปฏิเสธนวัตกรรม
การเปลี่ยนบทบาทของครู
ปัจจุบันครูควรลดบทบาทให้เหลือน้อยที่สุด
จากการสอนแบบบอกให้จด หรือบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เรียนเป็นผู้อำนวยการเรียน (Facilitator)
เป็นการให้นักเรียนเป็นผู้มีบทบาทในการเรียนให้มากที่สุด
โดยครูเป็นผู้วางแผนการสอนออกมาเป็นกิจกรรมการเรียน ให้นักเรียนเรียนเป็นกลุ่ม
หรือเรียนด้วยตนเอง การพัฒนาการเรียนการสอนควรยึดหลักต่อไปนี้คือ
1.ใช้สื่อการสอนอย่างเป็นระบบ2. ทำการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นครั้งคราวแก่อาจารย์เพื่อให้มีการพัฒนาตนเอง
3. การเรียนโดยใช้สื่อกับกลุ่มใหญ่ กลุ่มเล็ก หรือเรียนแบบตัวต่อตัว โดยใช้ทีวี วิทยุเทป คาสเซ็ทท์ หรืออาจใช้วิธีการอื่นๆ
4. มีชุดสื่อช่วยสอนเสริม เป็นบทเรียนด้วยตนเอง เช่นการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
5. การเชิญผู้ชำนาญการประจำท้องถิ่นสาขาต่างๆ มาเป็นวิทยากร หรือให้วิทยากรร่วมเป็นสมาชิกของคณะครูผู้สอนเรียกว่า การสอนเป็นคณะ
6. เมื่อครูเปลี่ยนบทบาท ครูต้องรู้จักใช้สื่อที่เหมาะสมในการเรียนการสอนด้วย
7. จัดกิจกรรมการเรียนให้เข้ากับหลักสูตร มีห้องเรียนอเนกประสงค์คือห้องเรียนที่ใช้ได้ทั้งนักเรียนกลุ่มใหญ่ และกลุ่มเล็ก หรือใช้เป็นที่เรียนแบบอิสระ ที่โรงเรียนของรัฐในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย เมืองซานดิเอโกห้องเรียนแบบนี้ ซึ่งใช้ประโยชน์ต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นเครื่องมือช่วยครูในการเรียนการสอน
โดยบรรจุเนื้อหาที่จะสอนไว้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์
เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง
และมีเทคนิคการสอนที่อยู่บนพื้นฐานของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและเครื่องคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
วารินทร์ รัศมีพรหม (2531 : 192-193)
ได้กล่าวถึงประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนพอสรุปได้ดังนี้1. ผู้เรียนเรียนได้ตามความช้าเร็วของตนเอง ทำให้สามารถควบคุมอัตราเร่งของการเรียนได้ด้วยตนเอง
2. การตอบสนองที่รวดเร็วของคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงที่รวดเร็วด้วย
3. อาจจัดทำโปรแกรมให้มีบรรยากาศที่น่าชื่นชม ซึ่งเหมาะสำหรับผู้เรียนที่เรียนช้าได้
4. สามารถเอาเสียงดนตรี สีสัน ภาพเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้ดูเหมือนของจริงและยังเร้าใจขณะฝึกปฏิบัติ (Drill) หรือสถานการณ์จำลองได้เป็นอย่างดี
5. ผู้สอนสามารถควบคุมการเรียนของผู้เรียนได้เพราะคอมพิวเตอร์จะบันทึกการเรียนของผู้เรียนแต่ละบุคคลไว้
6. ผู้สอนสามารถควบคุมการเรียนของผู้เรียนได้ เพราะคอมพิวเตอร์จะบันทึกการเรียนของผู้เรียน แต่ละบุคคลได้
7. ความใหม่แปลกของคอมพิวเตอร์ จะเพิ่มความสนใจ ความตั้งใจของผู้เรียนมากขึ้น
8. คอมพิวเตอร์ให้การสอนที่เชื่อถือได้แก่ผู้เรียน
9. จะช่วยลดเวลาของครู และลดค่าใช้จ่ายลง และสามารถทำให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ได้โดยง่าย
การวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา
ปัจจัยที่กำหนดทิศทาง
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด
9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา? (ปัจจุบันฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553
แต่ไม่มีการแก้ไขในหมวด 9 จึง พ.ศ 2542)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
(พ.ศ. 2555-2559)
กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ.
2554-2563 ของประเทศไทย
แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
(พ.ศ. 2554 - 2569)
แผนแม่บทงานวิจัยในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
แนวโน้มการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา[3]
การวิจัยโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งความรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
การวิจัยและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา
การวิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา
การวิจัยเพื่อสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนานวัตกรรมเพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
การออกแบบระบบการเรียนการสอน
การวิจัยและพัฒนาการจัดหาความรู้และสาระทางการศึกษา
การวิจัยและพัฒนาสื่อ
ประโยชน์ของผู้มีความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ
หรือ IT
1. ใช้คอมพิวเตอร์ได้สะดวกและคุ้มค่า
2. ทันกับสภาพสังคมที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสามารถคาดการแนวโน้มการใช้ในอนาคตได้
3. สามารถเลือกซื้อ
หรือเลือกใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้เหมาะสมกับงานและความต้องการของตน
4. รู้ทันข่าวสารและเหตุการณ์ปัจจุบันอยู่เสมอ
5. มีความรู้กว้างขวางหลายสาขา มีความรู้รอบตัวมากขึ้น
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT
ในปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ
มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกันมากขึ้น
เนื่องจากมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อำนวยความสะดวกในการทำงานมากขึ้น
คอมพิวเตอร์ก็ได้พัฒนารูปแบบการใช้งานให้มีความสะดวกและง่ายขึ้นโปรแกรมการทำงานต่าง
ๆ ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
และยังสามารถทำงานได้หลายอย่างในเครื่องเดียวกัน การประมวลผลก็เร็วขึ้นนอกจากนั้นยังสามารถทำงานในลักษณะการดูหนังฟังเพลงได้ด้วย
แม้แต่การสื่อสารกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ทำได้ง่ายดาย คนจึงมักจะพูดว่า "โลกไร้พรหมแดน"
ก็เพราะการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารสะดวกรวดเร็ว สิ่งที่องค์กรต่าง ๆ
ต้องคำนึงถึงในการนำเทคโนโลยีมาใช้ มีดังนี้
1. ความจำเป็น เช่น
ถ้าเป็นธุรกิจขนาดเล็กมีบุคลากรไม่มาก
การใช้เทคโนโลยีก็อาจจะทำให้สิ้นเปลืองและค่าใช้จ่ายมากกว่าที่ใช้แรงงานจากมนุษย์ก็เป็นได้
2. การพัฒนาการของเทคโนโลยี จะพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การนำเทคโนโลยีมาใช้จึงต้องคำนึงถึงอนาคตด้วย
เนื่องจากแนวโน้มการพัฒนาของเทคโนโลยีจะเป็นอย่างไรนั้นองค์กรต้องใช้เทคโนโลยีให้สอดคล้องกับการพัฒนาด้วย
3. การบริหารจัดการ
ต้องมีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับรูปแบบขององค์กร อันจะมีผลต่อความได้เปรียบเสียเปรียบด้านการตลาดด้วย
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
1. ด้านการติดต่อสื่อสาร
มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างไม่มีอุปสรรค ดังคำที่ว่า
"โลกไร้พรหมแดน"
2. ด้านการศึกษา นักเรียนนักศึกษาในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเรียนอยู่ที่บ้านไม่ต้องมาโรงเรียนใช้วิธีการเรียนทางไกลโดยเรียนผ่านทางอินเตอร์เน็ต
3. ด้านการดำเนินชีวิต
มนุษย์มีความสุขสบายมากขึ้นการทำงานหากมีความเสี่ยงสูงก็ใช้หุ่นยนต์ทำหน้าที่แทน
การดูแลรักษาความปลอดภัยก็ใช้โปรแกรมคอดตรวจสอบให้ทั้งหมดได้
4. ด้านสุขภาพ
วงการแพทย์รักษาโรคได้มากขึ้น
มีระบบแพทย์ออนไลน์คอยดูแลรักษาทางอินเตอร์เน็ตได้โดยร่วมกันรักษาโรคทั่วโลกได้
5. ด้านการท่องเที่ยวและความบันเทิง
สามารถผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ทุกรูปแบบ
เช่น การจอดตั๋ว การตรวจสอบสถานที่ การสอบถามข้อมูล การดูหนังฟังเพลง
ตลอดจนการซื้อของไม่ต้องไปเดินซื้อตามห้างสรรพสินค้า
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่าง ๆ
1. ผลกระทบต่อการศึกษา
การนำเทคโนโลยีหรือสื่อการเรียนมาใช้มากเกินไปจะเกิดปัญหาที่ชัดเจน คือ
- ครู กับ
นักเรียนขาดความสัมพันธ์และความใกล้ชิด ทำให้ความสำคัญของโรงเรียนและครูน้อยลง
- นักเรียนที่มีฐานะยากจนไม่สามารถเรียนโดยใช้สื่อเหล่านี้ได้
ทำให้เกิดการเสียโอกาสทางการศึกษาและทางสังคมที่แตกต่างกัน
2. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เกิดปัญหาผลพิษต่อสิ่งแวดล้อมเพราะมนุษย์นำเทคโนโลยี
ไปใช้ในทางที่ผิด เพราะมุ่งแต่ประโยชน์ส่วนต้นเท่านั้น
3. ผลกระทบต่อสังคม
- เกิดปัญหาว่างงานเพราะเมื่อใช้เทคโนโลยีแล้วแรงงานก็ใช้น้อยลงทำให้เกิดภาวะว่างงาน
- การปรับตัวที่ไม่ทันกับการพัฒนาเทคโนโลยี
คนที่อายุน้อยพัฒนาตนเองได้ดีขณะที่คนอายุมากพัฒนาตนเองได้น้อยและไม่ทันกับการพัฒนาเทคโนโลยี
- สังคมจะเป็นแบบต่างคน
ต่างอยู่ การดำเนินชีวิตจะไม่มีความสัมพันธ์กันมากนักเพราะทุกชีวิตต้องรีบเร่ง
ดิ้นรน
4. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
- มนุษย์จับจ่ายใช้สอยได้ง่ายขึ้น
เพราะมีบัตรเครดิตไม่ต้องพกเงินสด ทำให้อัตราการเป็นหนี้สูงขึ้น
- การแข่งขันกันทางธุรกิจสูงมากขึ้น
หวังผลกำไรมากขึ้น
อัตราการขยายตัวทางธุรกิจสูงแต่ผลที่ตามมาก็คือทำให้มุ่งแข่งขันหวังกำไรจนลืมความมีมนุษยธรรมหรือความมีน้ำใจ
5. ผลกระทบต่อสุขภาพจิต
- การดำเนินชีวิตแบบเดิมเป็นแบบเรียบง่าย
ต้องเปลี่ยนมาเป็นการปรับตัวให้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันตลอดเวลาอาจจะเกิดความเครียด
ความวิตกกังวล ไม่ว่าในหน้าที่การงานหรือการดำเนินชีวิตประจำตัวก็ตาม
- พฤติกรรมของเยาวชน
การอยู่กับเกมคอมพิวเตอร์ทำให้เยาวชนเกิดนิสัยก้าวร้าว
ชอบการต่อสู้
การใช้กำลัง
- นักธุรกิจต้องทำงานแข่งกับเวลา
พักผ่อนน้อยก็ก่อให้เกิดความเครียด สุขภาพจิต
ก็เสียตามไปด้วย
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก
ตัวอย่างเช่น
1. การศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศ
ช่วยในด้านการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูลทำให้การศึกษาง่ายขึ้นและไร้ขีดจำกัด
ผู้เรียนมีความสะดวกในการค้นคว้าวิจัย
2. การดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้มีความสะดวกคล่องตัวและรวดเร็วในการทำกิจกรรมต่าง
ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
สามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้หรือทำงานใช้เวลาน้อยลง
3. การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันระหว่างธุรกิจมากขึ้น
ทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
อันส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง
4. อัตราการขยายตัวทุก
ๆ ด้านที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าทันสมัย
รวดเร็วถูกต้องและทำให้เป็นโลกที่ไร้พรหมแดน
5. ระบบการทำงานมีคอมพิวเตอร์มาใช้ซื่อสามารถทำงานได้มากขึ้น
งานบางอย่างมนุษย์ทำไม่ได้ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำงานแทนซึ่งได้ผลถูกต้องรวดเร็ว
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องประกอบด้วย
1. ฮาร์ดแวร์ Hardware
2. ซอฟต์แวร์ Software
3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการให้บริการข้อมูลและติดต่อสื่อสาร
พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยส่วนประกอบ ดังนี้
1. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ได้แก่
1. ฮาร์ดแวร์ Hardware
2. ซอฟต์แวร์
Software
3. ข้อมูล Data
4. บุคลากร People
2. โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้งาน Programmer, System
Analyst และUser เป็นบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในงานคอมพิวเตอร์
โปรแกรมเมอร์มีหน้าที่เขียนโปรแกรมตามที่นักวิเคราะห์ได้ออกแบบไว้
ส่วนผู้ใช้จะเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อทิศทางในการพัฒนาเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มากที่สุด
3. หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยแสดงผลและหน่วยเก็บข้อมูล
หน่วยรับข้อมูล
ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์
หน่วยประมวลผล
ทำหน้าที่ประมวลผลและควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
หน่วยแสดงผล
ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล
หน่วยเก็บข้อมูล
ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รอการประมวลผล
และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลในระหว่างที่รอส่งไปยังหน่วยแสดงผล
4. การจัดการข้อมูล
ซึ่งหมายถึงแฟ้มข้อมูล
5. การประมวลผล ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การประมวลผล
3. การดูแลรักษา
เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่าง ๆ
1. เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ
เป็นระบบการจัดการสารสนเทศที่ทำหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นการบันทึก การแก้ไข การทำรายงาน
งานบัญชี งานลงทะเบียน
ระบบสารสนเทศจะช่วยให้องค์กรมีความสะดวกรวดเร็วในการทำงานและยังช่วยเป็นข้อมูลในการตัดสินใจด้วย
2. เทคโนโลยีระบบเครือข่าย
เป็นระบบเทคโนโลยีที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน มีประโยชน์ ดังนี้
2.1
สามารถติดต่อถึงกันได้ด้วยจดหมายอิเลคทรอนิกส์ (E-mail)
2.2
จัดเก็บข้อมูลไว้รวมในที่เดียวกัน
ผู้อยู่ห่างไกลก็สามารถดึงข้อมูลนั้นไปใช้ได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง
2.3
องค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายงบประมาณด้านอุปกรณ์
เพราะระบบเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ร่วมกันได้
2.4
สามารถทำงานร่วมกันได้หรือทำงานโดยใช้เอกสารชุดเดียวกัน
3. เทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ
เป็นระบบการทำงานที่ใช้ระบบการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงาน ซึ่งมีผลทำให้
3.1 พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทางจดหมายอิเลคทรอนิกส์
(E - mail)
3.2 สามารถบันทึกแฟ้มเอกสารหรืองานพิมพ์เก็บไว้
และสามารถนำมาแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ง่าย
3.3 การออกแบบงานต่าง ๆ
ทำได้ง่ายสะดวกรวดเร็วและใช้งานได้ง่าย
3.4 มีระบบฝากข้อความเสียง (Voice Mail)
3.5 การประชุมทางไกล (Video Teleconference)
4. เทคโนโลยีช่วยสอน CAI ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
โรงเรียนและสถานศึกษาก็เริ่มมีการพัฒนาโปรแกรมบทเรียนสำเร็จรูปขึ้นมาใช้และมีผลดีกับนักเรียนที่จะได้สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยและมีความน่าสนใจมากขึ้น
องค์ประกอบของสารสนเทศ
ข้อมูล คือ
ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
ภาพ เสียง วีดีโอ หรือ ข้อมูล คือข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคน
สัตว์ สิ่งของ หรือ เหตุการณ์ต่าง ๆ
ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง
สารสนเทศ หมายถึง
ข้อมูลที่มีความหมายซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ดังนั้นสารสนเทศจึงหมายถึงข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการที่เหมาะสมและถูกต้อง
เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ อยู่ในรูปแบบที่ใช้งานได้
และจะต้องอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องการ
ระบบสารสนเทศ การดำเนินการในองค์กรหนึ่ง
ๆ มีการจัดเก็บข้อมูล การรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนการดำเนินการ
การดำเนินงานสารสนเทศจึงเป็นงานระบบที่เรียกว่า ระบบสารสนเทศ
การจัดทำสารสนเทศจะทำให้เกิดความรอบรู้ที่จะใช้ช่วยในการตัดสินใจหรือวางแผนในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งสามารถแบ่งแยกประเภทสารสนเทศออกตามสภาพความต้องการที่จัดทำขึ้นได้ ดังนี้
1.สารสนเทศที่ทำประจำ
เป็นสารสนเทศที่จัดทำขึ้นเป็นประจำ และมีการดำเนินการโดยสม่ำเสมอ เช่น
การทำรายงานสรุปจำนวนนักเรียนที่มาโรงเรียนในแต่ละวัน เป็นต้น
2.สารสนเทศที่ต้องทำตามกฎหมาย
ตามข้อกำหนดของแต่ละประเทศจะมีการให้ทำรายงานส่งเพื่อการต่าง ๆ เช่น งบดุลของบริษัทที่ต้องทำขึ้น
เพื่อยื่นต่อทางราชการและใช้ในการเสียภาษี เป็นต้น
3.สารสนเทศที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ
ในการดำเนินงานต่าง ๆ บางครั้งจำเป็นต้องทำรายงานข้อมูลมาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ
1.บุคลากร
เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ จะเป็นผู้ดำเนินการในการทำงานทั้งหมด
จึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2.ขั้นตอนการปฏิบัติ
เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่
ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้
3.เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ
หรือพิมพ์รายงานผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบสารสนเทศ
4.ซอฟต์แวร์
คือลำดับขั้นตอนคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียงเป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานต้องการ
และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
5.ข้อมูล
เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ
ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกันขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ
เช่นในสถาบันการศึกษามักจะต้องการสารสนเทศที่เกี่ยวกับข้อมูลนักเรียน
ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่าง ๆ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น